วันจันทร์ที่ 27 มิถุนายน พ.ศ. 2554

 การเข้าเฝือก

  การปฐมพยาบาลผู้ป่วยที่เกี่ยวกับกระดูกหักที่เกิดขึ้นกับส่วนใดส่วนหนึ่งของร่างกายนั้นหลักสำคัญเพื่อต้องการไม่ให้กระดูกส่วนนั้นเคลื่อนไหว หรือเคลื่อนไหวน้อยที่สุดและเป็นการป้องกันมิให้เพิ่มอาการรุนแรงขึ้นเช่นกระดูกหักธรรมดาแต่ถ้าจับพลิกบิดรุนแรงหรือปล่อยไว้ไม่เข้าเฝือก อาจจะเพิ่มเป็นกระดูกทิ่มทะลุผิวหนังเป็นบาดแผลออกมาข้างนอกเป็นต้นดังนั้นจึงจำเป็นต้องให้การช่วยเหลือโดยการเข้าเฝือกอย่างระมัดระวัง เพื่อนำส่งแพทย์ต่อไป

ชนิดของเฝือก

1. เฝือกธรรมชาติ คือ เฝือกที่มีอยู่แล้วในตัวผู้ป่วย ได้แก่ อวัยวะหรือกระดูกที่อยู่ใกล้เคียงกับกระดูกที่หักนั้น ใช้เป็นเฝือกชั่วคราวไปก่อนจนกว่าจะถึงมือแพทย์ เช่น กระดูกแขนหักก็ใช้ทรวงอกเป็นเฝือก โดยพันให้ต้นแขนนั้นติดแนบกับลำตัวไว้ แล้วนำส่งโรงพยาบาล

2. เฝือกชั่วคราว คือ เฝือกที่หาได้จากวัสดุที่ง่าย ในบริเวณที่เกิดเหตุ เช่น แผ่นกระดาน ไม้บรรทัด ไม้ถือ ด้ามไม้กวาด คันร่มหรือกิ่งไม้

เป็นต้น

3. เฝือกสำเร็จรูป คือ เฝือกที่ทำไว้แล้วสามารถนำมาใช้ได้เลย อาจทำด้วยไม้หรือเหล็ก แต่ถ้าเกิดอุบัติเหตุกระทันหันอาจหาไม่ได้

 

วิธีการเข้าเฝือกชั่วคราว

1. สำรวจดูว่า กระดูกส่วนไหนหักโดยการจับดูด้วยความระมัดระวัง อย่าจับพลิกหรือบิด เพราะจะทำให้อาการหักรุนแรงขึ้น

2. ให้หาวัสดุที่อยู่ใกล้ตัวที่สามารถใช้ทำเฝือกได้พอดีกับอวัยวะส่วนนั้น ๆ รวมทั้งความสะดวกและปลอดภัยด้วย

3. ก่อนจะวางเฝือกลงบนอวัยวะส่วนที่กระดูกหัก ให้ใช้ผ้าหรือสำลีวางลงบนอวัยวะส่วนนั้นก่อนให้ทั่วตลอดแนวเฝือก เพื่อเป็นการป้องกันมิให้เฝือกกดลงบนผิวหนังโดยตรงซึ่งจะทำให้เจ็บปวดหรือเกิดเป็นบาดแผลขึ้นได้

4. ให้ใช้ผ้าหรือเชือกมัดเฝือกนั้น แต่ต้องไม่ให้แน่นหรือตึงจนเกินไป จะทำให้เลือดไหลเวียนไม่สะดวกและเป็นอันตรายได้

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น